วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน

การออกกำลังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน




     เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีการควบคุมอาหารอยู่เป็นประจำแล้ว หากต้องการให้เกิดประโยชน์
สูงสุดแล้วจำเป็นต้องมีการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย  โดยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง  และแต่ละครั้ง ควรออกแรงอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป 
    โดยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ควรออกกำลังกายแบบต่อเนื่องในระดับเหนื่อยปานกลางอย่างน้อย 30 นาทีให้ได้ทุกวัน  ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้  แต่ทั้งนี้อาจ
ต้องใช้เวลา 4-6 เดือนจึงจะเห็นผลวิธีออกกำลังกายที่ดีและถูกต้องควรเป็นการออกแรง
แขนขาต่อเนื่องกันเบาๆ หนักเล็กน้อย เช่น การรำมวยจีน การเดินเร็วๆ  การว่ายน้ำ  การเดินในน้ำ  หรือการปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้นจากเดิมประมาณ 20 ครั้งต่อนาที  โดยในแต่ละครั้งควรอุ่นเครื่องก่อนออกกำลังกาย  ด้วยการบริหารยืดหยุ่น
     ร่างกายและเดินช้าๆ  ประมาณ 5-10 นาที  หลังจากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มการออกกำลังกาย 
แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินพอดี  และก่อนที่จะหยุดออกกำลังกายให้ค่อยๆผ่อนการออกกำลังกาย
ลงด้วยการเดินช้าๆ  หรือผ่อนแรงออกกำลังกายเบาๆ ประมาณ 5 -10 นาที



วิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน

ท่าออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน



ชนิดที่ 1 กับชนิดที่ 2
         ผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 2 ชนิด นั้นมีวิธีการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการนำพลังงานไปใช้  และการเผาผลาญพลังงานที่แตกต่างกันนั่นเอง 
      โดยสามารถสรุปวิธีการที่ต่างกันได้ดังนี้ 



      - วิธีออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 


            สำหรับผู้ป่วยเบา หวานชนิดที่ 1 ที่สุขภาพดีทั่วไป  แพทย์แนะนำให้ออกกำลังกายทุกวัน วันละ 20 – 60 นาที  โดยให้ได้ระดับร้อยละ 50 -60 ของอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยต้องควบคุมโรคเบาหวานและการใช้ยา
โดยเฉพาะอินซูลินให้ดีก่อนออกกำลังกาย ปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งคือ  ผู้ป่วยต้องเข้าใจการปรับ
เปลี่ยนการใช้ยาหรืออินซูลินของตนเอง  รวมทั้งสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้
หากต้องการออกกำลังกายหนักๆ   โดยควรออกกำลังกายในช่วงเวลา  15.00- 17.00 น. หลังรับประทานอาหารว่างประมาณ 30 -60 นาที สัปดาห์ละ 3- 5 ครั้ง

      ทั้งนี้แพทย์ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายในขณะที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด  นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องแพทย์จะแนะนำให้ลดปริมาณ
การใช้อินซูลินลง



        - วิธีออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

       
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ควรดำเนินกิจกรรมแบบต่อเนื่องในระดับเหนื่อยปานกลางอย่าง
น้อย 30 นาทีต่อวัน  ซึ่งหากทำต่อเนื่อง 4-6 เดือน จะส่งผลดีช่วยลดความเสี่ยง
โรคแทรกซ้อนต่างๆได้บ้าง 


       ทั้งนี้สำหรับผู้ป่วยทั้ง 2 ชนิด  หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 200- 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ควรต้องออกกำลังกายภายใต้การดูแลของแพทย์  และหากมากกว่า 400  มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจเกิดอันตรายจากภาวะเลือด
เป็นกรดสำหรับผู้ป่วยชนิดที่ 1 ได้    และสำหรับผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ดีอยู่แล้ว  ก็ควรไม่ออกกำลังกายมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้         
       ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในท่าที่กระทบกระแทกเท้ามากเกินไป  และหากมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก  หิว  เหงื่อออก  ตาพร่ามัว  และเหนื่อยมากผิดปกติ  ควรพบแพทย์โดยเร็ว 





ข้อควรระวังในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

1. ไม่ควรออกกำลังกายในช่วงที่อินซูลินกำลังออกฤทธิ์สูง สุด  และไม่ฉีดอินซูลินตรงบริเวณอวัยวะที่จะออกกำลังกาย  และเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  ควรพกลูกอมหรือน้ำหวานติดตัว  เพื่อไว้รับประทานเมื่อมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
2. ไม่ควรออกกำลังกายในขณะที่น้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 250 หรือต่ำกว่า
80 มิลลิกรัม เปอร์เซ็นต์
3. หากมีปัญหาความดันโลหิตสูง  เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ   หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ  ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
4. ไม่ควรออกแรงมากๆ หรือกลั้นลมหายใจในขณะออกกำลังกาย
5. ห้ามออกกำลังกายระดับหนัก  ถ้าหากมีภาวะแทรกซ้อนทางไต  มีอาการของเซลล์ประสาทผิดปกติ  หรือเพิ่งเข้ารับการรักษาทางตา
6. ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบประสาท  ให้ระวังการออกกำลังกายที่จะเกิดอันตรายต่อเท้า  เช่น  กีฬาที่ต้องปีนป่ายหรือวิ่ง  หากเดินบนพื้นขรุขระควรใส่รองเท้าที่เหมาะสม  และระวังการออกกำลังกายที่จะทำให้เกิดระดับความดันโลหิตสูงขึ้น
7. ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต  ให้ระวังการปรับตัวต่ออุณหภูมิและการขาดน้ำ  นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตเพิ่มขึ้น 




 http://www.thaigtf.com/desearse/sweet/Xsweet1.asp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น