วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรใกล้ตัว...ประเภท ยาขับปัสสาวะ..!!!

พืชสมุนไพร ประเภท ยาขับปัสสาวะ

 

กาแฟ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Robusta Coffee, Coffea canephora Pierre ex Froehner
ชื่อวงศ์ :
RUBIACEAE
ชื่ออื่น :
กาแฟใบใหญ่

รูปลักษณะ :
กาแฟ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 8-12 ซม. ยาว 15-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ติดกันเป็นหลอด มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลสด รูปไข่แกมทรงกลม เมื่อสุกสีแดง

สรรพคุณของ กาแฟ :
เมล็ด เมล็ดมีคาเฟอีนเป็นยากระตุ้นหัวใจ ยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนไม่หลับ พบสาร Theophylline มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จากการทดลองพบว่า การดื่มกาแฟทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะมีสาร Theobromine อาจทำให้มีอาการปวดแสบที่ลิ้นปี่ นอกจากนี้กาแฟ ยังลดการดูดซึมธาติเหล็กอีกด้วย จึงควรระวังในการดื่มกาแฟ โดยเฉพาะขณะท้องว่าง


 ขลู่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea indica (Linn.) Less.
ชื่อวงศ์ :
ASTERACEAE
ชื่ออื่น :
ขลู่, หนวดงั่ว, หนวดงิ้ว, หนาดงัว, หนาดวัว

รูปลักษณะ :
ขลู่ เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 1-5 ซม. ยาว 2.5-10 ซม. ขอบใบหยักซี่ฟันห่างๆ ดอกช่อ ออกที่ยอดและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ ขลู่ :
ต้น ใช้ทั้งต้นต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน การทดลองในสัตว์และคนปกติ พบว่ายาขับปัสสาวะแผนปัจจุบัน (Hydrochlorothiazide) และมีข้อดีคือ สูญเสียเกลือแร่น้อยกว่า นอกจากนี้ยังใช้ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใบ น้ำคั้นใบสดรักษาริดสีดวงทวารด้วย


นางแย้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Volkameria fragrans Vent.
ชื่อวงศ์ :
VERBENACEAE
ชื่ออื่น :
ปิ้งชะมด, ปิ้งช้อน, ปิ้งสมุทร, ส้วนใหญ่

รูปลักษณะ :
นางแย้ม เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 1.5-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กว้าง กว้าง 8-11 ซม. ยาว 12-16 ซม. ผิวใบมีขนละเอียดทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย ลักษณะคล้ายดอกมะลิซ้อน กลีบดอกสีขาว ด้านนอกสุดของช่อกลีบ ดอกสีม่วงแดงสลับขาว กลีบเลี้ยงสีม่วงแดง ไม่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย

สรรพคุณของ นางแย้ม :
ราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคไตพิการ โรคในทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้


มะละกอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Papaya, Carica papaya Linn.
ชื่อวงศ์ :
CARICACEAE
ชื่ออื่น :
ก้วยลา, แตงต้น, มะก้วยเทศ, ลอกอ, หมักหุ่ง

รูปลักษณะ :
มะละกอ เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-6 เมตร ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รอบต้นบริเวณยอดรูปฝ่ามือเว้าเป็นแฉกลึก 7 แฉก ขนาดใหญ่ ดอก มีหลายประเภท คือดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกเดี่ยว หรือช่อ 2-3 ดอก สีนวล ผล เป็นผลสด รูปยาวรี ทรงกระบอก หรือกลม เมล็ดสีดำ

สรรพคุณของ มะละกอ :
รากและก้านใบ ขับปัสสาวะ ยางขาวจากผลดิบมีเอ็นไซม์ย่อยโปรตีน ได้แก่ papain และ chymopapain ใช้ย่อยเนื้อสัตว์ให้เปื่อย นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องในอุตสาหกรรมยาใช้เอ็นไซม์ผลิตเป็นยาเม็ด ลดอาการบวม การอักเสบจากบาดแผลหรือการผ่าตัด


สับปะรด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pineapple, Ananas comosus (Linn.) Merr.
ชื่อวงศ์ :
BROMELIACEAE
ชื่ออื่น :
ขนุนทอง, ยานัด, ย่านนัด, บ่อนัด, มะขะมัด, มะนัด, ลิงทอง, หมากเก็ง

รูปลักษณะ :
สับปะรด เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกช่อ ออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผล เป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล

สรรพคุณของ สับปะรด :
เหง้า เป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว เนื้อผล เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ ลำต้นและผล มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนชื่อ bromelain ซึ่งใช้เป็นยาลดการอักเสบ และบวมจากการถูกกระแทกบาดแผล หรือการผ่าตัดได้


สายน้ำผึ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Japanese Honey-suckle, Lonicera japonica Thunb.
ชื่อวงศ์ :
CAPRIFOLIACEAE

รูปลักษณะ :
สายน้ำผึ้ง เป็นไม้เถาเลื้อยพัน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 3-6 ซม. ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก สีครีมแล้ว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ผลเป็นผลสด รูปกลม เมื่อสุกมีสีดำ

สรรพคุณของ สายน้ำผึ้ง :
ต้น ใช้ทั้งต้นแก้บิด ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะรักษาฝี แผลเปื่อย มีการทดลองกับผู้ป่วย พบว่ามีฤทธิ์แก้ท้องเสีย


หญ้าหนวดแมว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cat's Whisker, Orthosiphon aristatus Miq.
ชื่อวงศ์ :
LAMIACEAE
ชื่ออื่น :
พยับเมฆ

รูปลักษณะ :
หญ้าหนวดแมว เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1 เมตร กิ่งและก้านสี่เหลี่ยมสีม่วงแดง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มี 2 พันธุ์ คือพันธุ์ดอกสีขาว และพันธุ์ดอกสีม่วงน้ำเงิน เกสรตัวผู้ยื่นพ้นกลีบดอกออกมายาวมาก ผล แห้ง ไม่แตก รูปรี ขนาดเล็ก

สรรพคุณของ หญ้าหนวดแมว :
ต้น ใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว ใบ เป็นยารักษาโรคเบาหวาน และลดความดันโลหิต มีการทดลองใช้ใบแห้ง เป็นยาขับปัสสาวะ ขับกรดยูริคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ และรักษาโรคนิ่วในไต กับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้ใบแห้งประมาณ 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี ดื่มต่างน้ำตลอดวัน ได้ผลเป็นที่พอใจของแพทย์ พบว่าในใบมีเกลือโปแตสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้


อินทนิลน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Queen's flower, Lagerstroemia inermis Pers
ชื่อวงศ์ :
LYTHRACEAE
ชื่ออื่น :
อินทนิล

รูปลักษณะ :
อินทนิลน้ำ เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-12 ซม. ยาว 12-24 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพูหรือสีม่วง ผล แห้ง แตกได้

สรรพคุณของ อินทนิลน้ำ :
ใบ ใช้ใบต้มน้ำกินแก้ปัสสาวะพิการ แก้เบาหวาน จากประสบการณ์ของผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนหนึ่งระบุว่าใช้ได้ผล แต่การทดลองในสัตว์พบว่าไม่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด จึงควรมีการทดลองต่อไป


อ้อยแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sugar Cane, Saccharum officinarum Linn.
ชื่อวงศ์ :
POACEAE
ชื่ออื่น :
อ้อย, อ้อยขม, อ้อยดำ

รูปลักษณะ :
อ้อยแดง เป็นไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาว ผล แห้ง ขนาดเล็ก อ้อยมีหลายพันธุ์ แตกต่างกันที่ความสูง ความยาวของข้อ และสีของลำต้น

สรรพคุณของ อ้อยแดง :
ต้น ใช้ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด 70-90 กรัม หรือแห้ง 30-40 กรัม หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำแบ่งดื่มวันละ 2 ครั้งก่อนอาหาร แก้ไตพิการ หนองใน และขับนิ่ว มรายงานว่าอ้อยแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ในสัตว์ทดลอง


เถาวัลย์เปรียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens Benth.
ชื่อวงศ์ :
FABACEAE
ชื่ออื่น :
เครือเขาหนัง, เถาตาปลา, พานไสน

รูปลักษณะ :
เถาวัลย์เปรียง เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ ยอดอ่อนมีขนนุ่น ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อย รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีขาว ผล เป็นฝัก

สรรพคุณของ เถาวัลย์เปรียง :
ใช้เถาขับปัสสาวะ แก้บิด แก้หวัด ใช้เถาคั่วไฟชงน้ำ กินแก้ปวดเมื่อย

 
โด่ไม่รู้ล้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elephantopus scaber Linn.
ชื่อวงศ์ :
ASTERACEAE
ชื่ออื่น :
ขี้ไฟนกคุ่ม, คิงไฟนกคุ่ม, เคยโป้, หญ้าไก่นกคุ่ม, หญ้าปราบ, หญ้าสามสิบสองหาบ, หนาด, ผาหนาด, มีแคลน

รูปลักษณะ :
โด่ไม่รู้ล้ม เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสั้น ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นวง รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 10-25 ซม. มักแผ่ราบไปกับผิวดิน ขอบใบหยักฟันเลื่อย ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบ ดอกช่อ แทงออกจากกลางต้น ก้านช่อแตกแขนงได้ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วง ออกเป็นกระจุกที่ปลายก้านดอก รองรับด้วยใบประดับแข็ง ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ โด่ไม่รู้ล้ม :
ใบ ใช้ใบต้มน้ำกินเป็นยาขับปัสสาวะ ขับพยาธิไส้เดือน และกระตุ้นกำหนัด

ไคร้หางนาค

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus taxodiifolius Beille
ชื่อวงศ์ :
EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น :
เสียวน้ำ, ตะไคร้หางสิงห์, เสียวเล็ก, เสียวน้อย

รูปลักษณะ :
ไคร้หางนาค เป็นไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 2-4 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ ซอกใบ ดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบรวมสีขาวนวล ผลเป็นผลสด รูปทรงกลม

สรรพคุณของ ไคร้หางนาค :
ต้น ใช้ทั้งต้นมีรสจืด เป็นยาขับปัสสาวะ
  










ไผ่รวก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyrsostachys siamensis Gamble
ชื่อวงศ์ :
POACEAE
ชื่ออื่น :
ตีโย, รวก, ฮวก

รูปลักษณะ :
ไผ่รวก เป็นไม้จำพวกไผ่แตกกอหนาแน่น กิ่งก้านมีหนามแหลม ลำต้นตั้งตรง สูง 12-25 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปดาบ กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 4-20 ซม. ดอกช่อ แยกแขนง ไม่มีกลีบดอก มีแต่ใบประดับ 2 ใบ ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ ไผ่รวก :
ต้น ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ ปวดแสบลิ้นปี่

 http://www.likemax.com/archive/herb/



ความรู้เพิ่มเติม

สมุนไพร......ทานอาหารให้เป็นยา 1




 สมุนไพร......ทานอาหารให้เป็นยา 2




 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น