วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรใกล้ตัว...ประเภท ยาขับปัสสาวะ..!!!

พืชสมุนไพร ประเภท ยาขับปัสสาวะ

 

กาแฟ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Robusta Coffee, Coffea canephora Pierre ex Froehner
ชื่อวงศ์ :
RUBIACEAE
ชื่ออื่น :
กาแฟใบใหญ่

รูปลักษณะ :
กาแฟ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 8-12 ซม. ยาว 15-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ติดกันเป็นหลอด มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลสด รูปไข่แกมทรงกลม เมื่อสุกสีแดง

สรรพคุณของ กาแฟ :
เมล็ด เมล็ดมีคาเฟอีนเป็นยากระตุ้นหัวใจ ยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนไม่หลับ พบสาร Theophylline มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จากการทดลองพบว่า การดื่มกาแฟทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะมีสาร Theobromine อาจทำให้มีอาการปวดแสบที่ลิ้นปี่ นอกจากนี้กาแฟ ยังลดการดูดซึมธาติเหล็กอีกด้วย จึงควรระวังในการดื่มกาแฟ โดยเฉพาะขณะท้องว่าง


 ขลู่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pluchea indica (Linn.) Less.
ชื่อวงศ์ :
ASTERACEAE
ชื่ออื่น :
ขลู่, หนวดงั่ว, หนวดงิ้ว, หนาดงัว, หนาดวัว

รูปลักษณะ :
ขลู่ เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2.5 เมตร ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 1-5 ซม. ยาว 2.5-10 ซม. ขอบใบหยักซี่ฟันห่างๆ ดอกช่อ ออกที่ยอดและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ ขลู่ :
ต้น ใช้ทั้งต้นต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน การทดลองในสัตว์และคนปกติ พบว่ายาขับปัสสาวะแผนปัจจุบัน (Hydrochlorothiazide) และมีข้อดีคือ สูญเสียเกลือแร่น้อยกว่า นอกจากนี้ยังใช้ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใบ น้ำคั้นใบสดรักษาริดสีดวงทวารด้วย


นางแย้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Volkameria fragrans Vent.
ชื่อวงศ์ :
VERBENACEAE
ชื่ออื่น :
ปิ้งชะมด, ปิ้งช้อน, ปิ้งสมุทร, ส้วนใหญ่

รูปลักษณะ :
นางแย้ม เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 1.5-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กว้าง กว้าง 8-11 ซม. ยาว 12-16 ซม. ผิวใบมีขนละเอียดทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย ลักษณะคล้ายดอกมะลิซ้อน กลีบดอกสีขาว ด้านนอกสุดของช่อกลีบ ดอกสีม่วงแดงสลับขาว กลีบเลี้ยงสีม่วงแดง ไม่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย

สรรพคุณของ นางแย้ม :
ราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคไตพิการ โรคในทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้


มะละกอ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Papaya, Carica papaya Linn.
ชื่อวงศ์ :
CARICACEAE
ชื่ออื่น :
ก้วยลา, แตงต้น, มะก้วยเทศ, ลอกอ, หมักหุ่ง

รูปลักษณะ :
มะละกอ เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-6 เมตร ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ มียางขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รอบต้นบริเวณยอดรูปฝ่ามือเว้าเป็นแฉกลึก 7 แฉก ขนาดใหญ่ ดอก มีหลายประเภท คือดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกเดี่ยว หรือช่อ 2-3 ดอก สีนวล ผล เป็นผลสด รูปยาวรี ทรงกระบอก หรือกลม เมล็ดสีดำ

สรรพคุณของ มะละกอ :
รากและก้านใบ ขับปัสสาวะ ยางขาวจากผลดิบมีเอ็นไซม์ย่อยโปรตีน ได้แก่ papain และ chymopapain ใช้ย่อยเนื้อสัตว์ให้เปื่อย นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องในอุตสาหกรรมยาใช้เอ็นไซม์ผลิตเป็นยาเม็ด ลดอาการบวม การอักเสบจากบาดแผลหรือการผ่าตัด


สับปะรด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pineapple, Ananas comosus (Linn.) Merr.
ชื่อวงศ์ :
BROMELIACEAE
ชื่ออื่น :
ขนุนทอง, ยานัด, ย่านนัด, บ่อนัด, มะขะมัด, มะนัด, ลิงทอง, หมากเก็ง

รูปลักษณะ :
สับปะรด เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับ ซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกช่อ ออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผล เป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล

สรรพคุณของ สับปะรด :
เหง้า เป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว เนื้อผล เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ ลำต้นและผล มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนชื่อ bromelain ซึ่งใช้เป็นยาลดการอักเสบ และบวมจากการถูกกระแทกบาดแผล หรือการผ่าตัดได้


สายน้ำผึ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Japanese Honey-suckle, Lonicera japonica Thunb.
ชื่อวงศ์ :
CAPRIFOLIACEAE

รูปลักษณะ :
สายน้ำผึ้ง เป็นไม้เถาเลื้อยพัน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 3-6 ซม. ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก สีครีมแล้ว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ผลเป็นผลสด รูปกลม เมื่อสุกมีสีดำ

สรรพคุณของ สายน้ำผึ้ง :
ต้น ใช้ทั้งต้นแก้บิด ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ลำไส้อักเสบ โรคกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะรักษาฝี แผลเปื่อย มีการทดลองกับผู้ป่วย พบว่ามีฤทธิ์แก้ท้องเสีย


หญ้าหนวดแมว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cat's Whisker, Orthosiphon aristatus Miq.
ชื่อวงศ์ :
LAMIACEAE
ชื่ออื่น :
พยับเมฆ

รูปลักษณะ :
หญ้าหนวดแมว เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1 เมตร กิ่งและก้านสี่เหลี่ยมสีม่วงแดง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มี 2 พันธุ์ คือพันธุ์ดอกสีขาว และพันธุ์ดอกสีม่วงน้ำเงิน เกสรตัวผู้ยื่นพ้นกลีบดอกออกมายาวมาก ผล แห้ง ไม่แตก รูปรี ขนาดเล็ก

สรรพคุณของ หญ้าหนวดแมว :
ต้น ใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว ใบ เป็นยารักษาโรคเบาหวาน และลดความดันโลหิต มีการทดลองใช้ใบแห้ง เป็นยาขับปัสสาวะ ขับกรดยูริคซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเกาต์ และรักษาโรคนิ่วในไต กับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้ใบแห้งประมาณ 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี ดื่มต่างน้ำตลอดวัน ได้ผลเป็นที่พอใจของแพทย์ พบว่าในใบมีเกลือโปแตสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจไม่ควรใช้


อินทนิลน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Queen's flower, Lagerstroemia inermis Pers
ชื่อวงศ์ :
LYTHRACEAE
ชื่ออื่น :
อินทนิล

รูปลักษณะ :
อินทนิลน้ำ เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-12 ซม. ยาว 12-24 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพูหรือสีม่วง ผล แห้ง แตกได้

สรรพคุณของ อินทนิลน้ำ :
ใบ ใช้ใบต้มน้ำกินแก้ปัสสาวะพิการ แก้เบาหวาน จากประสบการณ์ของผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนหนึ่งระบุว่าใช้ได้ผล แต่การทดลองในสัตว์พบว่าไม่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด จึงควรมีการทดลองต่อไป


อ้อยแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sugar Cane, Saccharum officinarum Linn.
ชื่อวงศ์ :
POACEAE
ชื่ออื่น :
อ้อย, อ้อยขม, อ้อยดำ

รูปลักษณะ :
อ้อยแดง เป็นไม้ล้มลุก สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 0.5-1 เมตร. ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด สีขาว ผล แห้ง ขนาดเล็ก อ้อยมีหลายพันธุ์ แตกต่างกันที่ความสูง ความยาวของข้อ และสีของลำต้น

สรรพคุณของ อ้อยแดง :
ต้น ใช้ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด 70-90 กรัม หรือแห้ง 30-40 กรัม หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำแบ่งดื่มวันละ 2 ครั้งก่อนอาหาร แก้ไตพิการ หนองใน และขับนิ่ว มรายงานว่าอ้อยแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ในสัตว์ทดลอง


เถาวัลย์เปรียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris scandens Benth.
ชื่อวงศ์ :
FABACEAE
ชื่ออื่น :
เครือเขาหนัง, เถาตาปลา, พานไสน

รูปลักษณะ :
เถาวัลย์เปรียง เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ ยอดอ่อนมีขนนุ่น ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อย รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีขาว ผล เป็นฝัก

สรรพคุณของ เถาวัลย์เปรียง :
ใช้เถาขับปัสสาวะ แก้บิด แก้หวัด ใช้เถาคั่วไฟชงน้ำ กินแก้ปวดเมื่อย

 
โด่ไม่รู้ล้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elephantopus scaber Linn.
ชื่อวงศ์ :
ASTERACEAE
ชื่ออื่น :
ขี้ไฟนกคุ่ม, คิงไฟนกคุ่ม, เคยโป้, หญ้าไก่นกคุ่ม, หญ้าปราบ, หญ้าสามสิบสองหาบ, หนาด, ผาหนาด, มีแคลน

รูปลักษณะ :
โด่ไม่รู้ล้ม เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสั้น ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นวง รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 10-25 ซม. มักแผ่ราบไปกับผิวดิน ขอบใบหยักฟันเลื่อย ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบ ดอกช่อ แทงออกจากกลางต้น ก้านช่อแตกแขนงได้ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วง ออกเป็นกระจุกที่ปลายก้านดอก รองรับด้วยใบประดับแข็ง ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ โด่ไม่รู้ล้ม :
ใบ ใช้ใบต้มน้ำกินเป็นยาขับปัสสาวะ ขับพยาธิไส้เดือน และกระตุ้นกำหนัด

ไคร้หางนาค

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus taxodiifolius Beille
ชื่อวงศ์ :
EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น :
เสียวน้ำ, ตะไคร้หางสิงห์, เสียวเล็ก, เสียวน้อย

รูปลักษณะ :
ไคร้หางนาค เป็นไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 2-4 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ ซอกใบ ดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบรวมสีขาวนวล ผลเป็นผลสด รูปทรงกลม

สรรพคุณของ ไคร้หางนาค :
ต้น ใช้ทั้งต้นมีรสจืด เป็นยาขับปัสสาวะ
  










ไผ่รวก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyrsostachys siamensis Gamble
ชื่อวงศ์ :
POACEAE
ชื่ออื่น :
ตีโย, รวก, ฮวก

รูปลักษณะ :
ไผ่รวก เป็นไม้จำพวกไผ่แตกกอหนาแน่น กิ่งก้านมีหนามแหลม ลำต้นตั้งตรง สูง 12-25 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปดาบ กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 4-20 ซม. ดอกช่อ แยกแขนง ไม่มีกลีบดอก มีแต่ใบประดับ 2 ใบ ผลแห้ง ไม่แตก

สรรพคุณของ ไผ่รวก :
ต้น ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ ปวดแสบลิ้นปี่

 http://www.likemax.com/archive/herb/



ความรู้เพิ่มเติม

สมุนไพร......ทานอาหารให้เป็นยา 1




 สมุนไพร......ทานอาหารให้เป็นยา 2




 

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน

การออกกำลังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน




     เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีการควบคุมอาหารอยู่เป็นประจำแล้ว หากต้องการให้เกิดประโยชน์
สูงสุดแล้วจำเป็นต้องมีการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย  โดยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง  และแต่ละครั้ง ควรออกแรงอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป 
    โดยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ควรออกกำลังกายแบบต่อเนื่องในระดับเหนื่อยปานกลางอย่างน้อย 30 นาทีให้ได้ทุกวัน  ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้  แต่ทั้งนี้อาจ
ต้องใช้เวลา 4-6 เดือนจึงจะเห็นผลวิธีออกกำลังกายที่ดีและถูกต้องควรเป็นการออกแรง
แขนขาต่อเนื่องกันเบาๆ หนักเล็กน้อย เช่น การรำมวยจีน การเดินเร็วๆ  การว่ายน้ำ  การเดินในน้ำ  หรือการปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้นจากเดิมประมาณ 20 ครั้งต่อนาที  โดยในแต่ละครั้งควรอุ่นเครื่องก่อนออกกำลังกาย  ด้วยการบริหารยืดหยุ่น
     ร่างกายและเดินช้าๆ  ประมาณ 5-10 นาที  หลังจากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มการออกกำลังกาย 
แต่ไม่ควรหักโหมจนเกินพอดี  และก่อนที่จะหยุดออกกำลังกายให้ค่อยๆผ่อนการออกกำลังกาย
ลงด้วยการเดินช้าๆ  หรือผ่อนแรงออกกำลังกายเบาๆ ประมาณ 5 -10 นาที



วิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน

ท่าออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน



ชนิดที่ 1 กับชนิดที่ 2
         ผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 2 ชนิด นั้นมีวิธีการออกกำลังกายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการนำพลังงานไปใช้  และการเผาผลาญพลังงานที่แตกต่างกันนั่นเอง 
      โดยสามารถสรุปวิธีการที่ต่างกันได้ดังนี้ 



      - วิธีออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 


            สำหรับผู้ป่วยเบา หวานชนิดที่ 1 ที่สุขภาพดีทั่วไป  แพทย์แนะนำให้ออกกำลังกายทุกวัน วันละ 20 – 60 นาที  โดยให้ได้ระดับร้อยละ 50 -60 ของอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยต้องควบคุมโรคเบาหวานและการใช้ยา
โดยเฉพาะอินซูลินให้ดีก่อนออกกำลังกาย ปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งคือ  ผู้ป่วยต้องเข้าใจการปรับ
เปลี่ยนการใช้ยาหรืออินซูลินของตนเอง  รวมทั้งสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้
หากต้องการออกกำลังกายหนักๆ   โดยควรออกกำลังกายในช่วงเวลา  15.00- 17.00 น. หลังรับประทานอาหารว่างประมาณ 30 -60 นาที สัปดาห์ละ 3- 5 ครั้ง

      ทั้งนี้แพทย์ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายในขณะที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด  นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องแพทย์จะแนะนำให้ลดปริมาณ
การใช้อินซูลินลง



        - วิธีออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

       
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ควรดำเนินกิจกรรมแบบต่อเนื่องในระดับเหนื่อยปานกลางอย่าง
น้อย 30 นาทีต่อวัน  ซึ่งหากทำต่อเนื่อง 4-6 เดือน จะส่งผลดีช่วยลดความเสี่ยง
โรคแทรกซ้อนต่างๆได้บ้าง 


       ทั้งนี้สำหรับผู้ป่วยทั้ง 2 ชนิด  หากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 200- 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ควรต้องออกกำลังกายภายใต้การดูแลของแพทย์  และหากมากกว่า 400  มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ไม่ควรออกกำลังกาย เพราะอาจเกิดอันตรายจากภาวะเลือด
เป็นกรดสำหรับผู้ป่วยชนิดที่ 1 ได้    และสำหรับผู้ป่วยที่ควบคุมโรคได้ดีอยู่แล้ว  ก็ควรไม่ออกกำลังกายมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้         
       ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในท่าที่กระทบกระแทกเท้ามากเกินไป  และหากมีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก  หิว  เหงื่อออก  ตาพร่ามัว  และเหนื่อยมากผิดปกติ  ควรพบแพทย์โดยเร็ว 





ข้อควรระวังในการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

1. ไม่ควรออกกำลังกายในช่วงที่อินซูลินกำลังออกฤทธิ์สูง สุด  และไม่ฉีดอินซูลินตรงบริเวณอวัยวะที่จะออกกำลังกาย  และเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  ควรพกลูกอมหรือน้ำหวานติดตัว  เพื่อไว้รับประทานเมื่อมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
2. ไม่ควรออกกำลังกายในขณะที่น้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 250 หรือต่ำกว่า
80 มิลลิกรัม เปอร์เซ็นต์
3. หากมีปัญหาความดันโลหิตสูง  เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ   หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ  ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
4. ไม่ควรออกแรงมากๆ หรือกลั้นลมหายใจในขณะออกกำลังกาย
5. ห้ามออกกำลังกายระดับหนัก  ถ้าหากมีภาวะแทรกซ้อนทางไต  มีอาการของเซลล์ประสาทผิดปกติ  หรือเพิ่งเข้ารับการรักษาทางตา
6. ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบประสาท  ให้ระวังการออกกำลังกายที่จะเกิดอันตรายต่อเท้า  เช่น  กีฬาที่ต้องปีนป่ายหรือวิ่ง  หากเดินบนพื้นขรุขระควรใส่รองเท้าที่เหมาะสม  และระวังการออกกำลังกายที่จะทำให้เกิดระดับความดันโลหิตสูงขึ้น
7. ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต  ให้ระวังการปรับตัวต่ออุณหภูมิและการขาดน้ำ  นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตเพิ่มขึ้น 




 http://www.thaigtf.com/desearse/sweet/Xsweet1.asp

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กลุ่มอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

10 สุดยอดอาหารที่ควรทานทุกวัน


 

1. เบอร์รี่

          แม้ว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่จะเคยเป็นผลไม้ที่หาทานได้ยากในบ้านเรา แต่ในสมัยนี้เห็นจะไม่ใช่อย่างนั้นแล้วล่ะค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้เค้ามีขายกันเกลื่อนตามห้างสรรพสินค้า และท้องตลาดบางแห่งด้วยแน่ะ คุณ ๆ รู้ไหมคะว่า ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่นั้น ช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหารได้มากเลยทีเดียว แถมยังมีแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ช่วยให้ผิวอ่อนเยาว์ และที่สำคัญ ยังมีวิตามิน C ที่ช่วยในเรื่องผิวพรรณและหวัดอีกด้วย

 

2. ไข่ไก่

         ไข่ไก่เป็นสุดยอดอาหารที่หาง่ายมาก ๆ แถมยังราคาถูกอีกแน่ะ คุณ ๆ รู้ไหมว่า ไข่ไก่นั้นเป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพสูง ที่ทำให้คุณได้พลังงานแต่ไม่อ้วน แถมมีประโยชน์ในการบำรุงสายตา อ้อ แถมยังมีลูทีนที่จะป้องกันผิวคุณจากการทำลายของแสงแดดอีกด้วย

 

3. ถั่ว

          ถั่วเป็นแหล่งของเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยในการส่งผ่านออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย โดยในถั่ว 1 ถ้วย จะให้ธาตุเหล็กประมาณ 16 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูงเลยทีเดียว นอกจากนี้ ถั่วยังมีไฟเบอร์ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายได้ง่ายอีกด้วย

 

4. อัลมอนต์ แม็คคาเดเมีย และมะม่วงหิมพานต์

          เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ จากการศึกษาของนักโภชนาการ พบว่า ผู้ที่รับประทานเมล็ดพืชเหล่านี้จะมีอายุยืนกว่าผู้ที่ไม่ได้ทานถึง 2 ปีครึ่งเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีโอเมก้า 3 เอแอลเอ ที่จะส่งผลให้อารมณ์ดีขึ้น ที่สำคัญยังช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีด้วย

 

5. ส้ม

          เป็นแหล่งวิตามิน C คุณภาพ ที่มีประโยชน์ต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว และช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค รวมทั้งยังมีไฟเบอร์สูง เป็นแหล่งของแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ ที่จะช่วยปกป้องเซลล์ผิวจากการถูกทำลาย และเสริมสร้างคอลลาเจนในผิว เรียกว่าคุณประโยชน์ครบครันเลยทีเดียว

 

6. มันเทศ

          อาหารที่หาได้ง่าย แถมยังให้ประโยชน์มากมายกับสุขภาพอีก มันเทศเป็นแหล่งเบตาแคโรทีนชั้นดีที่ช่วยในการบำรุงสายตา เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และที่หลาย ๆ คนคิดไม่ถึง คือ มันเทศมีสารต้านมะเร็งสูงอีกด้วยค่ะ

 

7. บร็อคโคลี่

          เป็นแหล่งของวิตามินซี เอ และเค เป็นผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยบำรุงสายตา และมีสารไอโซธิโอไซยาเนทส์ (Isothiocyanates) ที่ช่วยต่อต้านมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ วิตามินเคยังเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกด้วย

 

8. ชา

          แม้ว่าชาจะเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ไม่ได้ให้ผลดีต่อสุขภาพเท่าไหร่ แต่รู้ไหมว่า การดื่มชาในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ มะเร็ง และทำให้สุขภาพฟันและกระดูกแข็งแรงขึ้น เพราะในชานั้นมีสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ

 

9. คะน้า

          มีสารเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด รวมถึงมีวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ สร้างภูมิต้านทานโรคที่ดี นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมเสริมสร้างการทำงานของกระดูก 

 

10. โยเกิร์ต

          อาหารสุขภาพที่หลาย ๆ คนมักจะซื้อไว้ติดบ้าน เอาไว้ทานยามหิว และนั่นเป็นสิ่งที่ดีแล้วค่ะ เพราะในโยเกิร์ตนั้นมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี วิตามินบี 12 และโปรตีน ดังนั้น ถ้าคุณทานโยเกิร์ตให้ได้วันละ 1 ถ้วย จะทำให้สุขภาพคุณดีอย่าบอกใครเลยล่ะ

http://health.kapook.com/view16463.html


กลุ่มอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

       
 


   1.กลุ่มอาหารที่ห้ามรับประทาน 
 
ขนมหวานทุกชนิด  เช่น ทองหยิบ  ทองหยอด  ฝอยทอง  เป็นต้น
 







 
น้ำหวานทุกชนิด เช่นน้ำอัดลม  หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล  แต่หากเป็นกาแฟ  ก็ควรเป็นกาแฟดำ หรือกาแฟไม่ใส่น้ำตาล 


 







น้ำผลไม้ที่หวานจัด  น้ำผึ้ง  น้ำตาล  

 




 





ผลไม้ที่มีรสหวานจัด  ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม   หรือผลไม้แปรรูปที่รสหวานจัด  หรือมีส่วนผสมของน้ำตาล 


 






อาหารชุบแป้งทอด  หรือของขบเคี้ยวทอดกรอบ





     2.กลุ่มอาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัดปริมาณ


 
ได้แก่ ผักใบเขียวชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง  ผักคะน้า  ผักกาด  ผักตำลึง  และผักกวางตุ้ง เป็นต้น 







     3.กลุ่มอาหารที่รับประทานได้แต่ต้องจำกัดปริมาณ


 



 
อาหารสำเร็จรูป  หรืออาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน 





 





ผักผลไม้ที่มีแป้งมาก  เช่น หอมหัวใหญ่  ฟักทอง  กระเจี๊ยบ  กล้วย  ฝรั่ง  และมะละกอ เป็นต้น

 


 




นมจืดที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล  หรือนมพร่องไขมัน 


 






อาหารประเภทข้าว  แป้ง  ถั่วเมล็ดแห้ง 



 




เนื้อสัตว์หรืออาหารที่ให้โปรตีน  และควรหลีกเลี่ยงเนื้อติดมันต่างๆ เช่น หนังไก่  หนังหมู 


 





อาหารที่มีไขมันมาก ควรลดปริมาณการรับประทานลง  และหากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง 




 






อาหารที่มีไขมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์ม  กะทิ  และควรใช้น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะกอก  หรือน้ำมันถั่วเหลืองแทน 








หลักโภชนบัญญัติ  สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
 
     
แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีนั้นมี 9 ประการ ดังนี้
1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และให้หลากหลายในแต่ละหมู่  หมั่นดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป
2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก  สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
3. กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ
4. กินปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน  ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
7. หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัดและเค็มจัด
8. กินอาหารที่สะอาด  ปราศจากการปนเปื้อน
9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก


http://www.thaigtf.com/desearse/sweet/sweetcontrol2.asp




อาหารแลกเปลี่ยนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน


 

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรค....ภัยเงียบ...!!!

เบาหวาน

           
          เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงหรือต่ำเกินไปจนทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินต่อร่างกาย[2] โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่าง เหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของ ฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ปี 2550 พบผู้ป่วยเบาหวานแล้วถึง 246 ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย [3]

ชนิดและสาเหตุ

เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 สาเหตุของโรคเบาหวาน[4] ชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดการสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว แม้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายอย่างแน่ชัดว่า ทำไมภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงทำลายเซลล์ของตับอ่อน แต่เราก็ทราบว่าปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับโอกาสการเกิดโรคเบาหวานชนิด ที่ 1 คือ การได้รับสารพิษ,การติดเชื้อ, การแพ้นมวัวโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก การขาดการออกกำลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่ทำงานไม่เป็นปกติเนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

    อาการ

    ถ้าหากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์
  • ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น
  • ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น (ระหว่างช่วงเวลาที่เข้านอนแล้วจนถึงเวลาตื่นนอน)
  • หิวน้ำบ่อยและดื่มน้ำในปริมาณที่มากๆ
  • เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
  • น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน
  • ติดเชื้อบ่อยกว่าปกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร
  • สายตาพร่ามองเห็นไม่ชัดเจน
  • เป็นแผลหายช้า
โดย เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย

อาการแทรกซ้อน

  • ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)
เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มา ตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง
  • ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)
พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 2- 3 ปี นับเข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้าย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)
หากหลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด



  • โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)
  • แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)

การดูแลป้องกันโรคเบาหวาน



  • ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ การรักษาจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกันระหว่างผู้ป่วย แพทย์ ผู้ให้คำแนะนำเรื่องโรคเบาหวาน โภชนาการและยา การรักษานี้จะช่วยให้เกิดความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา
  • ควรเจาะระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ ให้ปรึกษาแพทย์ว่าควรเจาะช่วงใด และบ่อยแค่ไหนถึงจะดีที่สุด
  • ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพรอาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องตรวจสอบกับแพทย์และเภสัชกรก่อนเลือกผลิตภัณฑ์ยาเหล่านี้ 

                                                                    

การรักษา

 
   การรักษาโรคเบาหวานในผู้สูงอายุมีเป้าหมาย คือ
1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดชีวิต คือประมาณ 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด แต่อย่างไรก้ตามปัจจุบันเราได้ใช้ค่าน้ำตาลแบบฮีโมโกลบินเอวันซีในการ ประเมินผู้ป่วยเบาหวาน ค่าฮีโมโกลบินเอวันซี ที่เหมาะสมคือต่ำกว่าร้อยละ 7
2. ป้องกันหรือชะลอโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น (สมอง ใจ ไต ตา ชา แผล)
3. เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย คือให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขและมีคุณภาพ
4.นอกจากนี้เรายังจำเป็นต้องควบคุมระดับความดันโลหิต โดยระดับความดันโลหิจที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า 130/90 มิลลิเมตร ปรอท และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติอีกด้วย โดยดูจากระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ ต้องน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ดังนั้นการรักษาโรคเบาหวานจะต้องอาศัยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยา ซึ่งทั้งนี้ต้องการกำลังใจของผู้สูงอายุและความร่วมมือจากญาติพี่น้องหรือ ผู้ดูแล การใช้ยารักษาจะเริ่มเมื่อผู้ป่วยสูงอายุไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้บรรลุเป้าหมายด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย การใช้ยาจึงมีความสำคัญมากต่อชีวิตผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบันซึ่งมีวิถีชีวิต ที่แตกต่างจากในอดีต โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาที่เหมาะสมคือออกฤทธิ์ไม่แรงและหมดฤทธิ์เร็ว เริ่มจากขนาดยาต่ำๆ ก่อน มีวิธีการใช้ยาที่ง่ายและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ใช้ยาจะต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายร่วมด้วยเสมอ ผู้จะต้องใช้ยาตลอดชีวิตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและอาการของโรคเบาหวานตาม เป้าหมายที่กำหนด ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรผู้ป่วยสูงอายุจึงจะอยู่กับโรคเบาหวานและการ ใช้ยาอย่างมีความสุข

 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99